เมนู

ที่ชอบ อนึ่ง เมื่อคนอื่นแสดงโทษที่ล่วงเกินก็รับตามวิธีที่ชอบ บุคคลประกอบ
ด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นบัณฑิต.
จบอัจจยสูตรที่ 4

อรรถกถาอัจจยสูตร



พึงทราบวินิจฉัย ในอัจจยสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อจฺจยํ อจฺจยโต น ปสฺสติ ความว่า คนพาลย่อมไม่
เห็นความผิดของตนว่า เป็นความผิด. บทว่า อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ
น ปฏิกโรติ
ความว่า คนพาลแม้ทราบแล้วว่า เราทำผิด ก็ไม่ยอมทำตามธรรม
คือรับทัณฑกรรมมาแล้ว ก็ไม่ยอมแสดงโทษ คือไม่ยอมขอโทษคนอื่น.* บท
ว่า อจฺจยํ เทเสนฺตสฺส ยถาธมฺมํ ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า เมื่อคน
อื่นทราบว่า เราทำผิด รับทัณฑกรรมมาแล้วให้ขอขมา คนพาลก็จะไม่ยอม
ยกโทษให้.
ธรรมฝ่ายขาว ( ของบัณฑิต ) พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าว
แล้ว.
จบอรรถกถาอัจจยสูตรที่
* ปาฐะว่า อจฺจยํ น เทเสติ ฉบับพม่าเป็น อจฺจยํ น เทเสติ นกฺขมาเปติ แปลตามฉบับพม่า

5. อโยนิโสสูตร



ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต



[444] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
พึงทราบได้ว่าเป็นพาล ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง คือ ตั้งปัญหาโดยไม่
แยบคาย แก้ปัญหาโดยไม่แยบคาย อนึ่ง คนอื่นแก้ปัญหาได้แยบคาย ด้วย
ถ้อยคำอันกลมกล่อมสละสลวยได้เหตุผลแล้ว ไม่อนุโมทนา บุคคลประกอบ
ด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่าเป็นคนพาล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบ
ได้ว่าเป็นบัณฑิต ธรรม 3 ประการคืออะไรบ้าง คือ ตั้งปัญหาโดยแยบคาย
แก้ปัญหาโดยแยบคาย อนึ่ง คนอื่นแก้ปัญหาได้แยบคาย ด้วยถ้อยคำอัน
กลมกล่อมสละสลวยได้เหตุผลแล้วอนุโมทนา บุคคลประกอบด้วยธรรม 3
ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย พึงทราบเถิดว่าเป็นบัณฑิต.
จบอโยนิโสสูตรที่ 5